วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ดอกกุหลาบ


ดอกกุหลาบ             
ชื่อสามัญ :            Rose

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Rose hybrida Rosa chinensis.

ตระกูล :          ROSACEAE
                               
ลักษณะทั่วไปของกุหลาบ                  
               
               
 กุหลาบเป็นพรรณไม้ยืนต้น เป็นพุ่มขนาดเล็ก ลำต้นมีความยาวประมาณ 30-200 เซนติเมตร ลำต้นเตี้ยและสูง มีหนาม
หรือไม่มีแล้วแต่ชนิดพันธุ์ลำต้นสีเขียวเมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาลแตกกิ่งก้าน มารอบต้นใบเป็นใบรวมแตกออกจากกิ่งก้านก้าน
ใบจะมีหูใบติดอยู่ด้วยลักษณะใบโคนใบมนปลายใบแหลมขอบใบมีหยักเล็กน้อยตัวใบ นิ่มมีสีเขียวใบจะออกจากก้านใบเป็น
คู่ขนาดความกว้างของใบประมาณ 2-4 เซนติเมตรยาวประมาณ35เซนติเมตรดอกเป็นดอกเดี่ยวมีก้านดอกยาวแตกออกจาก
ปลายกิ่งหรือง่ามใบที่กิ่งลักษณะดอกเป็นกลีบเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆประมาณ 4-6 ชั้นดอกมีกลีบ 5-15 กลีบขอบดอกเรียบ
ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่รวมกันดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆดอกบานมีความกว้างประมาณ 2-6 เซนติเมตรลักษณะ
ของลำต้นใบดอกแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์      
                 
                การเป็นมงคลของกุหลาบ     
                คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นกุหลาบไว้ประจำบ้านจะทำให้คนในบ้านมีคุณค่าแห่งชีวิตที่สูงเพราะกุหลาบได้รับ
การยกย่องให้เป็นราชินีแห่งอุทยาน(Queen of the Garden)เนื่องจากดอกมีรูปร่างสีสรรที่สวยงามนอกจากนี้คน
ไทยโบราณยังเชื่ออีกว่าบ้านใดปลูกต้นกุหลาบไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดความสง่าภาคภูมิเพราะกุหลาบดอกใหญ่ขณะ
ชูช่อบานนั้นดูโดดเด่นเห็นเป็นสง่าแก่บุคคลทั่วไป              
                ตำแหน่งที่ปลูกกุหลาบและผู้ปลูก        
                เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นกุหลาบไว้ทางทิศตะวันออก ผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธ เพราะโบราณเชื่อ
ว่า การปลูกไม้เอาประโยชน์ทางดอกให้ปลูกในวันพุธ นอกจากนี้ถ้าจะให้เป็นสิริมงคลแก่ตนเองผู้ปลูกควรเป็ฯสุภาพสตรี
เพราะกุหลาบเป็นราชินีแห่งอุทยาน ดังนั้นชื่อจึงเหมาะสมอย่างยิ่งกับสุภาพสตรี         
                การปลูกกุหลาบ วิธีที่นิยมปลูกมี 2 วิธี คือ          
                1. การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณหน้าบ้านเพื่อความโดดเด่น และสว่างามของตนเอง ขนาหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก

2. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคารบ้านเรือน ควรใช้กระถางทรงสูงขนาด 10-16 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก
: ขุยมะพร้าวหรือแกลบผุ:ดินร่วนอัตราอย่างละ1ส่วนผสมดินปลูกควรเปลี่ยนกระถางปีละครั้ง เพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ทด
แทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป และเพื่อความเหมาะสมของการเจริญเติบโตของทรงพุ่มด้วย                  
                การดูแลรักษากุหลาบ           
                แสง                           ต้องการแสงแดดจัดกลางแจ้ง

น้ำ                        ต้องการปริมาณน้ำปานกลางควรให้น้ำ 5-7 วัน/ครั้ง

ดิน                               ดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ร่วนเหนียว มีความชื้นปานกลาง ระบายน้ำได้ดี

ปุ๋ย                            ควรใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตรา1-2 กิโลกรัม/ต้น ใส่ 1-2 เดือน/ครั้ง

การขยายพันธ์          การปักชำ การตอน การทาบกิ่ง การติดตา

วิธีที่นิยมและได้ผลดี   การปักชำ การติดตา และการตอน


โรค                              โรคใบจุด

อาการ                    มีจุดสีดำบนใบ ทำให้ใบเหลือง และร่วงในเวลาต่อมา

การป้องกัน              ควรฉีดยาป้องกันก่อนถึงฤดูฝน เพราะเชื้อราชนิดนี้ระบาดในฤดูฝน ใช้ยาคูปราวิท ไดเทนเอ็ม -45                                      อัตราและวิธีใช้ระบุตามฉลาก

การรักษา                ใช้ยาแคปแทน เบนเลท อัตราและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลาก

แมลงศัตรู                    หนอนเจาะดอก

อาการ                         กลีบดอกเป็นแผล เป็นรู ทำให้ดอกแคระแกร็น และเสียรูปทรง

การป้องกัน                 รักษาความสะอาดบริเวณแปลงปลูกฉีดยาป้องกันขณะกุหลาบเดิดดอกใหม่ ในช่วงฤดูหนาว
                                    ใช้ยาดิลดริน อัตราและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลาก

การกำจัด               ใช้ยาดิลดริน ฟอสดริน อัตราและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลาก

ดอกพุทรักษา





ดอก พุทรักษา

ลักษณะทั่วไปพุทรักษา

             พุทธรักษา เป็นพรรณไม้ล้มลุก เนื้ออ่อนอวบน้ำ ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-2 เมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า เหง้า มีการเจริญเติบโตโดยแตกหน่อเป็นกอคล้ายกับกล้วย ลักษณะหน่อที่เจริญเป็นต้นเหนือพื้นดินนั้นมีลักษณะกลมแบนสีเขียวขนาดลำต้น โตประมาณ 2-4 เซนติเมตร ใบมีขนาดใหญ่สีเขียวโคนใบและปลายใบรีแหลม ขอบใบเรียบ กลางใบเป็นเส้นนูนเห็นได้ชัดโคนใบมีก้านใบซึ้งยาวเป็นกาบใบหุ้มลำต้นซ้อน สลับกัน ขนาดใบกว้างประมาณ 10-15 เซนติเมตร ยาวประมาณ 25-35 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของลำต้น ช่อดอกยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร ประกอบด้วยดอก 8-10 ดอก และมีกลีบดอกบางนิ่ม ขนาดของดอกและสีสรรแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์
การเป็นมงคลต้นพุทธรักษา
คนโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นพุทธรักษาไว้ประจำบ้านจะช่วยคุ้มครอง ป้องกันอันตรายแก่บ้านและผู้อาศัยได้ เพราะพุทธรักษาเป็นพรรณไม้ที่คนโบราณเชื่อว่า มีพระเจ้าคุ้มครองรักษาให้มีความสงบสุข คือเป็นไม้มงคลนั่นเอง
ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปปลูกพุทรักษา
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นพุทธรักษาไว้ทางทิศตะวันตก ผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เอาประโยชน์ทั่วไปทางดอกให้ปลูกในวันพุธ
การปลูกพุทธรักษา นิยมปลูก 2 วิธี
1. การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ถ้าปลูกในพื้นที่ขนาดใหญ่ควรใช้แปลงปลูกขนาด 2 x 10 เมตร
   โดยการยกร่องคล้ายแปลงปลูกผัก การเตรียมดินใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 10-20 กิโลกรัม/แปลง ขนาดหลุมปลูก 30 x 30
   x30 แต่ถ้าปลูกเพื่อประดับบ้าน คนไทยโบราณนิยมปลูกไว้เป็นแนวรั้วบ้านหรือปลูกเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ในพื้นที่ที่จำกัด ขนาดหลุม
    ปลูก 30 x 30 x 30 ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 1 ผสมดินปลูก

2. การปลูกในกระถางเพื่อประดับอาคารบ้านเรือน ส่วนใหญ่ใช้เป็นดอกประดับภายนอก ควรใช้กระถางทรงสูง ขนาด 10-16 นิ้ว    ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก:แกลบผุ:ดินร่วนอัตรา1:1:1ผสมดินปลูกและควร เปลี่ยนกระถาง12ครั้งต่อปีเพราะการขยายตัวของหน่อ
    แน่นเกินไป และเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ แทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป

การดูแลรักษาพุทธรักษา

แสง                           ชอบแสงรำไร หรือแสงแดดจัดกลางแจ้ง

น้ำ                             ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 3-5 วัน/ ครั้ง

ดิน                            เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย

ปุ๋ย                            ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/กอ ปีละประมาณ 4-6 ครั้ง

การขยายพันธ์          นิยมขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ เพาะเมล็ด

วิธีที่นิยมและได้ผลดี การแยกหน่อ

โรคและแมลง            ไม่ค่อยมีโรคที่เป็นปัญหา ส่วนแมลงที่รบกวน ได้แก่ พวกเพลี้ยแป้งและเพลี้ยหอย ซึ่งจะพบมากใน
                                  หน้าร้อน

การป้องกันกำจัด      ฉีดพ่นด้วย มาลาไธออนหรือไดอาซินอนถ้าหากกอมีขนาดใหญ่และทึบอาจใช้ยาดูดซึม จำพวกไซกอน
                                  ละลายน้ำรด ตามอัตราที่ระบุไว้ในฉลากก็ได้

ดอกมะลิ





               
มะลิ


                    มะลิเป็นพรรณไม้ยืนต้น และเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก จนถึงขนาดกลางบางชนิดก็มีลำต้นแบบเถาเลื้อย ลำต้นมีความสูงประมาณ1-3 เมตร ผิวเปลือกลำต้นสีขาวมีสะเก็ดรอยแตกเล็กน้อย ลำต้นเล็กกลมแตกกิ่งก้านสาขาไปรอบ ๆ ลำต้น ใบเป็นใบเดียวแตกใบเรียงกันเป็นคู่ ๆ ตามก้านและกิ่งลักษณะของใบมนป้อม โคนใบสอบเรียว ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม ขนาดใบกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อ ออกตามส่วนยอดหรือตามง่ามใบ ดอกเล็กสีขาวมีกลีบดอกประมาณ 6-8 กลีบ เรียงกันเป็นวงกลมหรือซ้อนกันเป็นชั้นแล้วแต่ชนิดพันธุ์ ขนาดดอกบานเต็มที่ประมาณ 2-3 เซนติเมตรผลเป็นรูปกลมรีเล็กเมื่อสุกจะมีสีดำภายในมีเมล็ดอยู่1เมล็ดนอกจากนี้ลักษณะของลำต้นและดอกแตกต่าง
กันไปตามชนิดพันธุ์คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นมะลิไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดความรักความคิดถึงแก่บุคคลทั่วไปเพราะดอกมะลิเป็นดอกไม้ประจำวันแม่แห่งชาติซึ่งเป็นสัญลักณณ์แสดงถึงความรักของลูกต่อแม่และผู้ที่มีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณนอกจากนี้คนไทยโบราณยังเชื่ออีกว่า บ้านใดปลูกต้นมะลิไว้ประจำบ้าน จะทำให้คนในบ้านมีความบริสุทธิ์ เพราะ ดอกมะลิมีสีขาวบริสุทธิ์ ขาวสะอาด ซึ่งคนไทยนิยมใช้เป็นเครื่องสักการะบูชาพระเพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้ อาศัยควรปลูกต้นมะลิไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธเพราะ โบราณเชื่อ
ว่าการปลูกต้นไม้เพื่อเอาประโยชน์ทั่วไปทางดอกให้ปลูกในวันพุธถ้าจะให้เป็นสิริมงคลยิ่งขึ้นนั้นผู้ปลูกควรเป็นสภาพสตรีที่สูงอาจุ เพราะเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบสูงและยังเป็นผู้ที่ประกอบคุณงามความดี เป็นที่ยอมรับนับถือของบุคคลทั้วไป



การดูแลรักษามะลิ


1. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคารบ้านเรือน ควรใช้กระถางทรงสูง ขนาด 8-14 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก :
   ดินร่วน อัตรา 1: 1 :1 ผสมดินปลูกควรเปลี่ยนกระถางปีละครั้งเพราะการขยายตัวของรากแน่นเกินไปและเพื่อเปลี่ยน
   ดินปลูกใหม่ ทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป
2. การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน โบราณนิยมปลูกบริเวณทางเข้าหน้าบ้าน เพื่อเป็นเสน่ห์แก่บ้าน
   ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1: 1 ผสมดินปลูก


แสง                          ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง

น้ำ                             ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 3-5 วัน/ครั้ง

ดิน                           ชอบดินร่วนซุย มีความชุ่มชื้นปานกลาง ระบายน้ำได้ดี

ปุ๋ย                           ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 5-6 ครั้ง หรือใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15
                                  อัตรา 200-300 กรัม / ต้น ใส่ปีละ 4-6 ครั้ง
                               
การขยายพันธ์          การปักชำ การตอนกิ่ง การทาบกิ่ง การแยกกอ วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การปักชำ การตอน

โรค                           รากเน่า (Sclerotium root rot)

แมลง                        หนอนเจาะดอก

อาการ                 ใบเหลือง เหี่ยว ต้นแห้งตาย โคนต้นมีเส้นใยสีขาว และดอกเป็นแผล เป็นรู ทำให้ดอกเสียรูปทรง
                                  และร่วง ดอกเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ

การป้องกัน               ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยของหนอนตัวแก่

การกำจัด                  ใช้ยาเมโธมิล หรือ เมธามิโดฟอส อัตราและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลาก